หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างเป็นระบบโดยมีส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 5 หน่วย ดังนี้
1. หน่วยรับเข้า (Input Unit) หน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกเข้ามายังหน่วยความจำ เพื่อรอการประมวลผลจากหน่วยประมวลผลกลางต่อไป อุปกรณ์หน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ไมโครโฟน เป็นต้น
2. หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit:CPU) หน่วยประมวลผลกลางซึ่งติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก ที่ยึดติดอยู่ภายในตัวเครื่อง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน เปรียบเทียบ คำนวณหรือประมวลผลข้อมูล โดยทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ
3. หน่วยความจำหลัก (Main memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งไว้เพื่อรอการประมวลผล แบ่งได้เป็นสองชนิด คือ หน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้ (non-volatile memory) ซึ่งหน่วยความจำนี้สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่มีกระแสไปฟ้าหล่อเลี้ยง และอีกชนิดหนึ่งคือ หน่วยความจำที่สามารถลบเลือนได้ (volatile memory) เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะหายไป
4. หน่วยความจำรอง (secondary memory unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรม สำหรับให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลและโปรแกรมเหล่านี้กลับมาใช้งานได้อีก หลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี/ดีวีดี หน่วยความจำแบบแฟลช เป็นต้น
5. หน่วยส่งออก (Output Unit) ทำหน้าที่นำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลออกมาแสดง เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ และลำโพง
คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างเป็นระบบโดยมีส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 5 หน่วย ดังนี้
1. หน่วยรับเข้า (Input Unit) หน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกเข้ามายังหน่วยความจำ เพื่อรอการประมวลผลจากหน่วยประมวลผลกลางต่อไป อุปกรณ์หน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ไมโครโฟน เป็นต้น
2. หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit:CPU) หน่วยประมวลผลกลางซึ่งติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก ที่ยึดติดอยู่ภายในตัวเครื่อง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน เปรียบเทียบ คำนวณหรือประมวลผลข้อมูล โดยทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ
3. หน่วยความจำหลัก (Main memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งไว้เพื่อรอการประมวลผล แบ่งได้เป็นสองชนิด คือ หน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้ (non-volatile memory) ซึ่งหน่วยความจำนี้สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่มีกระแสไปฟ้าหล่อเลี้ยง และอีกชนิดหนึ่งคือ หน่วยความจำที่สามารถลบเลือนได้ (volatile memory) เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะหายไป
4. หน่วยความจำรอง (secondary memory unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรม สำหรับให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลและโปรแกรมเหล่านี้กลับมาใช้งานได้อีก หลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี/ดีวีดี หน่วยความจำแบบแฟลช เป็นต้น
5. หน่วยส่งออก (Output Unit) ทำหน้าที่นำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลออกมาแสดง เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ และลำโพง